วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา10.1.1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ดังกล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ หรือใช้ ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ เปลี่ยนแปลงเวลา เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไป แต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา" มอตัน (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ" ไชยยศ เรืองสุวรรณ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม" 10.1.2 เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม เพื่อที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37 ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ 1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม 2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ 3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม 4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี 10.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันชุดการสอนกล่าวกันว่าสาเหตุหลักอันหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ ความรู้ความสามารถของผู้สอนในการรู้จักนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน การสอนไม่ใช่การที่ผู้สอนเพียงแต่มายืนพูดอยู่หน้าชั้นแต่จำเป็นที่จะต้องรู้จักนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ชุดการสอนเป็นนวัตกรรมการใช้สื่อประสมที่อาศัยวิธีการจัดระบบการดำเนินงานมาบูรณาการสื่อต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ.2516 ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ทดลองใช้ระบบผลิตชุดการสอนในวิชา "เทคโนโลยีและการศึกษาร่วมสมัย" สำหรับบัณฑิตศึกษา และเผยแพร่แนวคิดนี้ไปยังสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา และต่ำกว่าอุดมศึกษาจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เนื่องจากระบบการผลิตชุดการสอนได้รับทุนสนับสนุนจากทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภชของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงรู้จักกันในอีกชื่อก็คือ "ระบบการผลิตชุดการสอนแบบจุฬา (Chlalongkorn University Plan for Multi Media Instructional Package Production หรือ CHULA PLAN"10.3.1 ความหมายของชุดการสอน ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521:191) ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า "ชุดการสอน คือ การนำระบบสื่อประสม ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย มาช่วยให้การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่องหรือซองเป็นหมวด ๆ ภายในชุดการสอนจะประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและประสบการณ์ อาทิ รูปภาพ สไลด์ เทป ภาพยนตร์ขนาด 8 มม. แผ่นคำบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ การสาธิต (หากมี) ฯลฯ และการมอบหมายงานเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น"10.3.2 ประเภทชุดการสอน เมื่อพิจารณาจากคำนิยามของชุดการสอน จะเห็นได้ว่า ชุดการสอนจะประกอบไปด้วย คู่มือการใช้สื่อการสอน สื่อการสอน และการมอบหมายงานหลังจากการเรียน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน ชุดการสอนเมื่อพิจารณาจากรูปแบบของการกิจกรรมการเรียนการสอน แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ 1) ชุดการสอนประกอบการบรรยายของครู ชุดการสอนประเภทนี้บทบาทหลักจะอยู่ที่ผู้สอน ในการที่จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน 2) ชุดการสอนรายบุคคล สำหรับผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองโดยจะรับชุดการสอนไปเรียนด้วยตนเอง โดยใช้เวลาตามความสามารถของตนเอง 3) ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม หรือแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-6 คน โดยผู้เรียนจะช่วยกันศึกษาเนื้อหา ทำกิจกรรมต่าง ๆ จากสื่อที่เตรียมไว้ในชุดการสอน ผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหาในการเรียน 4) ชุดการสอนทางไกล ชุดการสอนแบบนี้เป็นชุดการสอนที่ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเอง แต่มีข้อแตกต่างกับชุดการสอนรายบุคคล ในส่วนที่ชุดการสอนรายบุคคล ผู้สอนจะเป็นผู้เก็บรวบรวมไว้ที่ผู้สอน ผู้เรียนจะมาพบผู้สอนเพื่อขอศึกษาเนื้อหาจากชุดการสอนที่ผู้เรียนเตรียมไว้ ขณะที่ชุดการสอนทางไกล ผู้เรียนจะเก็บรวบรวมชุดการสอนไว้กับตนเอง ตัวอย่างชุดการสอนทางไกลที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ชุดการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือชุดการสอนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน การสอนแบบโปรแกรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อเราสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการ เรียนรู้ 4 สถานการณ์ คือ 1. ให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับขั้น 2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง 3. ให้ผู้เรียนทราบผลการปฏิบัติกิจกรรมโดยทันทีว่าถูกต้องหรือไม่มีอะไรจะต้องแก้ไข 4. ให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ ซึ่งการจัดสภาพการณ์ดังกล่าวเรียกว่า "การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521:108) กล่าวถึง ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) และบทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Lesson or Text) ดังนี้ การสอนแบบโปรแกรม เป็นระบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ประกอบกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามเนื้อหาซึ่งจัดไว้เป็นขั้นตอนแรก ๆ ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเรียนตามความสนใจและความสามารถของตนเอง บทเรียนแบบโปรแกรม เป็นบทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยการตอบคำถามหรือปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ มีการเฉลยผลการปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผู้เรียนจะใช้เวลาในการเรียนตามความสนใจและความสามารถของตน บทเรียนแบบโปรแกรมอาจจะอยู่ในรูปของ บทเรียนที่เป็นตำรา (Programmed Book) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer assisted Instruction) หรือบทเรียนที่เป็นชุดการสอน (Instructional Packages) เป็นต้น 10.4.1 ความเป็นมาของบทเรียนแบบโปรแกรม ซิดนีย์ แอล เพรสซี่ (Sydney L.Pressey) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อทดสอบนักเรียนในปี พ.ศ.2469 บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F>Skinner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนบทความอธิบายหลักของการเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรม เมื่อปี พ.ศ.2497 ต่อมาในปี พ.ศ.2500 จึงได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยสอน (Teching Machine) และเผยแพร่ผลงานของเขา ในปี พ.ศ.2502 โอมและคลาสเซอร์ ได้ทำโปรแกรมของเครื่องสอน มาเป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรกเรียกว่า โปรแกรมบุค (Programmed Book) 10.4.2 จิตวิทยาพื้นฐานของการเรียนแบบโปรแกรม ในการสร้างบทเรียนโปรแกรมยึดนักจิตวิทยา หลัก 2 ทฤษฏี ได้แก่ 1) ทฤษฏีสิ่งเร้าการตอบสนองของธอร์นไดท์ (S-R Theory) - กฎแห่งผล (Law of Effect) กฎนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนอง - กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เป็นการที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำซ้ำ ๆ จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคง - กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) เมื่อผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ (Reinforcement Theory) การเสริมแรงจะทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่เรียนต่อไป การเสริมแรงของบทเรียนโปรแกรมใช้การเฉลยคำตอบให้ทราบผลว่าถูกหรือผิดโดยทันที การให้ความรู้ต่อเนื่องทีละขั้นอย่างละเอียดจะช่วยไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดพลาด 10.4.3 ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 1) เนื้อหาจะแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่ากรอบ (Frame) 2) มีการให้ผู้เรียนได้ตอบสนอง อาจจะโดยการตอบคำถามหรือเติมคำลงในช่องว่าง เพื่อวัดความเข้าใจ 3) ผู้เรียนได้รับการตอบกลับทันทีว่า คำตอบนั้นถูกหรือไม่ คำตอบที่ถูกต้องจะเสมือนรางวัลสร้างการเสริมแรงในการเรียน 4) ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน สามารถเรียนโดยใช้เวลาตามความสามารถของตน 10.4.4 ชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนสำเร็จรูป อาจแบ่งออกได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ 1) แบ่งตามวิธีการนำเสนอ มี 2 ชนิดคือ - ใช้กับเครื่องช่วยสอน (Teaching machine) ซึ่งปัจจุบันก็จะเป็นลักษณะของการใช้กับคอมพิวเตอร์ - นำเสนอโดยรูปเล่มสิ่งพิมพ์ (Programmed Text) 2) แบ่งตามประเภทของการตอบสนอง มี 2 ชนิดคือ - ชนิดที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง (Constructed Response) - ชนิดที่มีคำตอบให้เลือก (Multiple Choice) 3) แบ่งตามเทคนิคการเขียนบทเรียน มี 2 ชนิด คือ - แบบเส้นตรง (Linear) - แบบสาขา หรือแบบแตกกิ่ง (Branching) 10.4.5 ประโยชน์ของบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนสำเร็จรูปจะเกิดประโยชน์ในการเขียนการสอนในแง่มุมดังต่อไปนี้ คือ 1) ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง และดำเนินตามความสามารถของตน 2) ช่วยลดภาระในการสอนของผู้สอน เพราะผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในกรณีที่เกิดปัญหาเท่านั้น 3) แก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน 4) ผู้เรียนใช้เวลาเรียนตามความพอใจของตนเอง 5) ทำให้เนื้อหาเป็นมาตรฐานเดียวกัน 6) ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการเรียน เมื่อตอบผิดก็ไม่ต้องเกรงว่าจะมีผู้เยาะเย้ยสามารถแก้ไขด้วยตนเอง
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกลเป็นความพยายามของนักการศึกษาในการที่จะจัดการศึกษาได้แก่ผู้ที่ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาตามปกติในชั้นเรียนได้ นอกจากนี้แล้วการที่วิทยาการได้ก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการศึกษาทางไกลจึงมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างสูง10.5.1 ความหมายของการศึกษาทางไกล โฮน์นิชและคณะ (1993:282) ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ"10.5.2 ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้ 1) ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา 2) เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียนของตนเอง 3) สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก10.5.3 สื่อการสอนกับการศึกษาทางไกล เนื่องจากผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาทางไกล ซึ่งสื่อการสอนที่ใช้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ เอกสารตำรา แบบฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนจะอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลักเนื่องจากราคาถูก เก็บได้นานและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบ 2)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นสื่อรองจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยในการเสริมความรู้ในกระบวนการเรียนของผู้เรียน โดยอาจจะเป็นการสอนทางโทรทัศน์ เทปเสียงบรรยาย เทปวีดิทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง 3)สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม เนื่องจากการพัฒนาการของอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอามาใช้ในการจัดการศึกษาทางไกล โดยใช้ระบบดาวเทียมและท่อใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารข้อมูล มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คำขวัญ


























เมืองร้อยเกาะ










เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ














ร้อยเกาะ หรือเมืองร้อยเกาะชื่อนี้มาจากสภาพพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อยมากมาย เช่น เกาะสมุย เกาะพะวัน เกาะเต่า เกาะริกัน เกาะหลัก เกาะนกเภา เกาะกล้วย เกาะพลวย เกาะปราบ เกาะแตน เป็นต้น ซึ่งเกาะเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้ถูกกำหนดและประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เรียกว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยหลายสิบเกาะ เนื้อที่ประมาณ156,250ไร่หมู่เกาะต่างๆของจัวหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และมีชื่อเสียงทั่วโลกทำให้นักท่องเที่ยวทุกมุมโลกหลั่งไหลสู่หมู่เกาะเหล่านี้ปีละหลายแสนคนทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย
เมืองร้อยเกาะ
เงาะอร่อย








เงาะโรงเรียน เป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม และมีปลูกกันมากอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ก็คือ อำเภอบ้านนาสาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของชื่อเงาะดรงเรียน เงาะโรงเรียนมีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อนายเค วอง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปินังประเทศมาเลเซียได้เดินทางเข้ามาทำเหมือง แร่ดีบุก ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร โดยสร้างบ้านพักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ในที่ดินที่ซื้อจำนวน 18 ไร่ ใกล้ทางรถไฟด้านทิศตะวันตกได้นำเมล็ด เงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลมเนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบางรสชาติอร่อย เมื่อนายเค วอง เลิกสัมกิจการเหมืองแร่ในปี พ.ศ.2497 ได้ขายที่ดินจำนวน 18 ไร่ พร้อมบ้านดังกล่าว ให้แ่กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ)ซึ่งได้ปรับปรุงใช้เป็นสถานที่เรียน เรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นายเค วอง ปลูกไว้ ก็ ได้ขยายพันธุ์ประชาชนดดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมาเงาะพันธุ์นี้จึง ได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ
หอยใหญ่

หอยใหญ่ หมายถึง หอยนางรมซึ่งหอยนางรมสุราษฎร์ธานี ีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในหมู่นักบริโภค ว่าเป็นอาหารทะเลที่ขึ้นชื่อ มีรสชาติอร่อย ชวนรับ ประทาน การเพาะเลี้ยงหอยนางรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มประมาณปี พ.ศ. 2504 ทดลองเลี้ยงที่แหลมซุย อำเภอไชยา ต่อมาได้นำมาเพาะเลี้ยงที่บริเวณปากคลองท่าทอง และปากคลองกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี 2 ชนิด คือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่า หอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่า หอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอย 2 ฝา พบทั่วไปบริเวณน้ำตื้นชายฝั่งหอยนาง รมจะวางไข่ตลอดปี แต่จะพบมาในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน และวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 1-9 ล้านฟอง
ไข่แดง
ไข่แดงเป็นนามเรียกลักษณะของไข่เค็มไชยาซึ่งเป็นไข่เค็มที่มีชื่อเสียงกล่าวขวัญกันทั่วไป เพราะไข่เค็มไชยาเป็นไข่เค็มที่ทำจากไข่เป็ด ที่เลี้ยงในเขตอำเภอไชยา มีลักษณะพิเศษ คือไข่แดงมีสีแดงจัด ไข่แดงมีมากกว่าไข่ทั่วไป สีสันมันวาว ชวนรับประทาน ไข่เค็มไชยา มีการจัดทำอย่างเป็นล่ำเป็นสันที่อำเภอไชยาเป็นสินค้าซึ่งถือ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งไชยา และชาวสุราษฎร์ธานีมีจำหน่ายทั่วไป ในจังหวัด สุราษฎร์ธานีโดยเฉพาะที่อำเภอไชยา
แหล่งธรรมะ
สุราษฎร์ธานี มีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตเห็นได้จากร่องรอย ความเจริญที่ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ทั่งไป เช่น วัดพระบรมธาตุไช ยาราชวรวิหาร วัดแก้ว วัดหลง อำเภอไชยา วัดเวียง อำเภอเวียงสระ วัดถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม วัดเขาพระอานนท์และวัดเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน และอีกหลายๆแห่งแหล่งธรรมะที่ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ีภาคภูมิใจ เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวพุทธทั้งไทยและต่างประทศ ที่มาเยือนมากมาย ตลอดปี คือสวนโมก ขพลาราม หรือ วัดธารน้ำไหล เรียกสั้นๆ ว่า "สวนโมกข์" ท่านพุทธทาสได้สร้างสวนโมกข์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีเนื้อที่375 ไร่ เป็นวัดที่แปลกไม่มีสิ่งก่อสร้างเป็นโบสถ์วิหาร แต่จะใช้ธรรรมชาติอันร่มรื่น ด้วย แมกไม้นานาพันธุ์ทำให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ศึกษาธรรมะ วิปัสสนาตามธรรมชาติ ที่นี่ มีโรงมหรสพทางวิญญาณลานหินโค้ง โรงปั้นสระน้ำซึ่งทุก แห่งของสวนโมกข์สามารถศึกษา ธรรมะได้อย่างเข้าใจถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนาสวนโมกข์ เป็นแหล่งที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สำคัญ แห่งหนึ่งของไทย ทั่วโลกยอมรับและยกย่องท่านพุทธทาสว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลก



วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551