วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา10.1.1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ดังกล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ หรือใช้ ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ เปลี่ยนแปลงเวลา เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไป แต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา" มอตัน (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ" ไชยยศ เรืองสุวรรณ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม" 10.1.2 เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม เพื่อที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37 ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ 1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม 2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ 3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม 4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี 10.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันชุดการสอนกล่าวกันว่าสาเหตุหลักอันหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ ความรู้ความสามารถของผู้สอนในการรู้จักนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน การสอนไม่ใช่การที่ผู้สอนเพียงแต่มายืนพูดอยู่หน้าชั้นแต่จำเป็นที่จะต้องรู้จักนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ชุดการสอนเป็นนวัตกรรมการใช้สื่อประสมที่อาศัยวิธีการจัดระบบการดำเนินงานมาบูรณาการสื่อต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ.2516 ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ทดลองใช้ระบบผลิตชุดการสอนในวิชา "เทคโนโลยีและการศึกษาร่วมสมัย" สำหรับบัณฑิตศึกษา และเผยแพร่แนวคิดนี้ไปยังสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา และต่ำกว่าอุดมศึกษาจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เนื่องจากระบบการผลิตชุดการสอนได้รับทุนสนับสนุนจากทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภชของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงรู้จักกันในอีกชื่อก็คือ "ระบบการผลิตชุดการสอนแบบจุฬา (Chlalongkorn University Plan for Multi Media Instructional Package Production หรือ CHULA PLAN"10.3.1 ความหมายของชุดการสอน ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521:191) ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า "ชุดการสอน คือ การนำระบบสื่อประสม ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย มาช่วยให้การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่องหรือซองเป็นหมวด ๆ ภายในชุดการสอนจะประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและประสบการณ์ อาทิ รูปภาพ สไลด์ เทป ภาพยนตร์ขนาด 8 มม. แผ่นคำบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ การสาธิต (หากมี) ฯลฯ และการมอบหมายงานเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น"10.3.2 ประเภทชุดการสอน เมื่อพิจารณาจากคำนิยามของชุดการสอน จะเห็นได้ว่า ชุดการสอนจะประกอบไปด้วย คู่มือการใช้สื่อการสอน สื่อการสอน และการมอบหมายงานหลังจากการเรียน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน ชุดการสอนเมื่อพิจารณาจากรูปแบบของการกิจกรรมการเรียนการสอน แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ 1) ชุดการสอนประกอบการบรรยายของครู ชุดการสอนประเภทนี้บทบาทหลักจะอยู่ที่ผู้สอน ในการที่จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน 2) ชุดการสอนรายบุคคล สำหรับผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองโดยจะรับชุดการสอนไปเรียนด้วยตนเอง โดยใช้เวลาตามความสามารถของตนเอง 3) ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม หรือแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-6 คน โดยผู้เรียนจะช่วยกันศึกษาเนื้อหา ทำกิจกรรมต่าง ๆ จากสื่อที่เตรียมไว้ในชุดการสอน ผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหาในการเรียน 4) ชุดการสอนทางไกล ชุดการสอนแบบนี้เป็นชุดการสอนที่ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเอง แต่มีข้อแตกต่างกับชุดการสอนรายบุคคล ในส่วนที่ชุดการสอนรายบุคคล ผู้สอนจะเป็นผู้เก็บรวบรวมไว้ที่ผู้สอน ผู้เรียนจะมาพบผู้สอนเพื่อขอศึกษาเนื้อหาจากชุดการสอนที่ผู้เรียนเตรียมไว้ ขณะที่ชุดการสอนทางไกล ผู้เรียนจะเก็บรวบรวมชุดการสอนไว้กับตนเอง ตัวอย่างชุดการสอนทางไกลที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ชุดการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือชุดการสอนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน การสอนแบบโปรแกรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อเราสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการ เรียนรู้ 4 สถานการณ์ คือ 1. ให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับขั้น 2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง 3. ให้ผู้เรียนทราบผลการปฏิบัติกิจกรรมโดยทันทีว่าถูกต้องหรือไม่มีอะไรจะต้องแก้ไข 4. ให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ ซึ่งการจัดสภาพการณ์ดังกล่าวเรียกว่า "การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521:108) กล่าวถึง ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) และบทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Lesson or Text) ดังนี้ การสอนแบบโปรแกรม เป็นระบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ประกอบกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามเนื้อหาซึ่งจัดไว้เป็นขั้นตอนแรก ๆ ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเรียนตามความสนใจและความสามารถของตนเอง บทเรียนแบบโปรแกรม เป็นบทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยการตอบคำถามหรือปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ มีการเฉลยผลการปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผู้เรียนจะใช้เวลาในการเรียนตามความสนใจและความสามารถของตน บทเรียนแบบโปรแกรมอาจจะอยู่ในรูปของ บทเรียนที่เป็นตำรา (Programmed Book) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer assisted Instruction) หรือบทเรียนที่เป็นชุดการสอน (Instructional Packages) เป็นต้น 10.4.1 ความเป็นมาของบทเรียนแบบโปรแกรม ซิดนีย์ แอล เพรสซี่ (Sydney L.Pressey) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อทดสอบนักเรียนในปี พ.ศ.2469 บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F>Skinner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนบทความอธิบายหลักของการเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรม เมื่อปี พ.ศ.2497 ต่อมาในปี พ.ศ.2500 จึงได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยสอน (Teching Machine) และเผยแพร่ผลงานของเขา ในปี พ.ศ.2502 โอมและคลาสเซอร์ ได้ทำโปรแกรมของเครื่องสอน มาเป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรกเรียกว่า โปรแกรมบุค (Programmed Book) 10.4.2 จิตวิทยาพื้นฐานของการเรียนแบบโปรแกรม ในการสร้างบทเรียนโปรแกรมยึดนักจิตวิทยา หลัก 2 ทฤษฏี ได้แก่ 1) ทฤษฏีสิ่งเร้าการตอบสนองของธอร์นไดท์ (S-R Theory) - กฎแห่งผล (Law of Effect) กฎนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนอง - กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เป็นการที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำซ้ำ ๆ จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคง - กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) เมื่อผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ (Reinforcement Theory) การเสริมแรงจะทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่เรียนต่อไป การเสริมแรงของบทเรียนโปรแกรมใช้การเฉลยคำตอบให้ทราบผลว่าถูกหรือผิดโดยทันที การให้ความรู้ต่อเนื่องทีละขั้นอย่างละเอียดจะช่วยไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดพลาด 10.4.3 ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 1) เนื้อหาจะแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่ากรอบ (Frame) 2) มีการให้ผู้เรียนได้ตอบสนอง อาจจะโดยการตอบคำถามหรือเติมคำลงในช่องว่าง เพื่อวัดความเข้าใจ 3) ผู้เรียนได้รับการตอบกลับทันทีว่า คำตอบนั้นถูกหรือไม่ คำตอบที่ถูกต้องจะเสมือนรางวัลสร้างการเสริมแรงในการเรียน 4) ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน สามารถเรียนโดยใช้เวลาตามความสามารถของตน 10.4.4 ชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนสำเร็จรูป อาจแบ่งออกได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ 1) แบ่งตามวิธีการนำเสนอ มี 2 ชนิดคือ - ใช้กับเครื่องช่วยสอน (Teaching machine) ซึ่งปัจจุบันก็จะเป็นลักษณะของการใช้กับคอมพิวเตอร์ - นำเสนอโดยรูปเล่มสิ่งพิมพ์ (Programmed Text) 2) แบ่งตามประเภทของการตอบสนอง มี 2 ชนิดคือ - ชนิดที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง (Constructed Response) - ชนิดที่มีคำตอบให้เลือก (Multiple Choice) 3) แบ่งตามเทคนิคการเขียนบทเรียน มี 2 ชนิด คือ - แบบเส้นตรง (Linear) - แบบสาขา หรือแบบแตกกิ่ง (Branching) 10.4.5 ประโยชน์ของบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนสำเร็จรูปจะเกิดประโยชน์ในการเขียนการสอนในแง่มุมดังต่อไปนี้ คือ 1) ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง และดำเนินตามความสามารถของตน 2) ช่วยลดภาระในการสอนของผู้สอน เพราะผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในกรณีที่เกิดปัญหาเท่านั้น 3) แก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน 4) ผู้เรียนใช้เวลาเรียนตามความพอใจของตนเอง 5) ทำให้เนื้อหาเป็นมาตรฐานเดียวกัน 6) ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการเรียน เมื่อตอบผิดก็ไม่ต้องเกรงว่าจะมีผู้เยาะเย้ยสามารถแก้ไขด้วยตนเอง
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกลเป็นความพยายามของนักการศึกษาในการที่จะจัดการศึกษาได้แก่ผู้ที่ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาตามปกติในชั้นเรียนได้ นอกจากนี้แล้วการที่วิทยาการได้ก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการศึกษาทางไกลจึงมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างสูง10.5.1 ความหมายของการศึกษาทางไกล โฮน์นิชและคณะ (1993:282) ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ"10.5.2 ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้ 1) ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา 2) เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียนของตนเอง 3) สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก10.5.3 สื่อการสอนกับการศึกษาทางไกล เนื่องจากผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาทางไกล ซึ่งสื่อการสอนที่ใช้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ เอกสารตำรา แบบฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนจะอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลักเนื่องจากราคาถูก เก็บได้นานและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบ 2)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นสื่อรองจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยในการเสริมความรู้ในกระบวนการเรียนของผู้เรียน โดยอาจจะเป็นการสอนทางโทรทัศน์ เทปเสียงบรรยาย เทปวีดิทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง 3)สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม เนื่องจากการพัฒนาการของอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอามาใช้ในการจัดการศึกษาทางไกล โดยใช้ระบบดาวเทียมและท่อใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารข้อมูล มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: